ประวัติสนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช 

สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐

His Majesty the King's 80th Birthday Anniversary Stadium (5th December 2007)

65_big
77131490_1970604299752759_3349634909567188992_n
48381920_1634874313325761_2940935249133043712_n
80306915_1983913641755158_757090472429617152_n
3ตค62_AC_kkt
27-2-2564 11-19-10
82774144_580221435973446_6925140643546078355_n
previous arrow
next arrow
Shadow

บทนำ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ (อังกฤษ: His Majesty the King’s 80th Birthday Anniversary Stadium (5th December 2007) หรือชื่อเดิม สนามกีฬาเมืองหลักเฉลิมฉลอง 333 ปี จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 หรือถนนสืบศิริ ตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมืองนครราชสีมา เป็นสนามกีฬาหลักในการแข่งขันซีเกมส์ 2007 ที่จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 6 ถึง 15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ปัจจุบันเป็นสนามเหย้าของ สโมสรฟุตบอลจังหวัดนครราชสีมา (เฉพาะสนามหลัก) ชื่ออย่างเป็นทางการของสนามกีฬาได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร(เนื่องในโอกาสที่ซีเกมส์ครั้งนี้จัดคาบเกี่ยว)กับพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ยังเป็นสถานที่
สำหรับจัดการแข่งขัน ไทยไฟท์ ที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงปลายปี พ.ศ. 2553 ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ตัวสนามจะใช้จัดพิธีเปิด-ปิด และการแข่งขันกีฬาฟุตบอล ที่มีความจุ 25,000 คน และสามารถขยายเพิ่มเป็น 45,000 คนในอนาคต ซึ่งปัจจุบันใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ

ภาคผนวก

คณะรัฐมนตรี โดยมี พลเอกชาติชาย ชุณหวัน นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2532 มีมติเห็นชอบโครงการก่อสร้างสนามกีฬาที่มีขนาดความจุ 20,000 ที่นั่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ต่อจากการสร้างสนามกีฬาเมืองหลัก เฉลิมฉลอง 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ โดยมอบหมายให้ พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์ รองนายกรัฐมนตรี

ซึ่งกำกับดูแลด้านการกีฬาของชาติ เป็นผู้รับผิดชอบและจัดทำรายละเอียดโครงการ

         ในส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การกีฬาแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้จัดทำโครงการก่อสร้างสนามเมืองหลักเฉลิมฉลอง 333 ปี จังหวัดนครราชสีมา โดยได้ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา ในการสรรหาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างซึ่งได้พื้นที่บริเวณอ่างเก็บน้ำเถกิงพล ตำบลปรุใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เป็นสถานที่ก่อสร้าง ต่อมาในปี 2547 จากการผลักดันงบประมาณของ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งกำกับดูแลด้านการกีฬาอยู่ในขณะนั้น ได้ให้ความเห็นชอบงบประมาณค่าก่อสร้างสนามกีฬาเมืองหลัก เฉลิมฉลอง 333 ปี จังหวัดนครราชสีมา เป็นงบประมาณจากงบกลาง ประจำปี 2548 และงบผูกพันงบประมาณประจำปี 2549-2550 เป็นจำนวนเงิน2,294,180,000 (สองพันสองร้อยเก้าสิบสี่ล้านหนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) และได้รับความอนุเคราะห์ให้ใช้ที่ดินของกรมป่าไม้และที่ราชพัสดุ จำนวน 589 ไร่เศษ

         รูปแบบองค์ประกอบของสนามกีฬาแห่งนี้ ประกอบด้วย สนามกีฬากลาง ความจุ 20,000 คน อินดอร์สเตเดี้ยม ความจุ 5,000 คน อินดอร์สเตเดี้ยม ความจุ 2,000 คน สนามกีฬาจักรยาน สระว่ายน้ำ 50 เมตร สนามเทนนิส 12 คอร์ท สนามเทนนิสเซ็นเตอร์คอร์ทพร้อมสนามฝึกซ้อม สนามยิงปืน 42 ช่องยิง อาคารที่ทำการ อาคารที่พักนักกีฬา อาคารที่พักเจ้าหน้าที่ ลานจอดรถ และสวนสาธารณะ โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้ทำสัญญาว่าจ้างกับ บริษัท อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล้อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ในวงเงินงบประมาณ 2,086,767,200 บาท (สองพันแปดสิบหกล้านเจ็ดแสนหกหมื่นเจ็ดพันสองร้อยบาทถ้วน) โดยเริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2548 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 15 มิถุนายน 2550 ทั้งนี้ โดยมีบริษัท แปลน คอนซัลแตนท์ส จำกัด เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งการก่อสร้างได้เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม2550

         การกีฬาแห่งประเทศไทย ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเดจพระเจ้าอยู่หัว เพื่อขอพระราชทานนามให้แก้สนามกีฬาเมืองหลักแห่งนี้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามของสนามกีฬาหลักเมือง เฉลิมฉลอง 333 ปี จังหวัดนครราชสีมา ว่า “สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ นวาคม ๒๕๕๐” ซึ่งได้ประกอบพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ระกว่างวันที่ 6-15 ธันวาคม 2550 ณ จังหวัดนครราชสีมาโดยประสบความสำเร็จอย่างงดงามยิ่ง ถือเป็นมหามงคลและเกียรติประวัติของประเทศไทย และประชนชนทั้งมวล ในฐานะเจ้าภาพโดยทั่วหน้ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจังหวัดนครราชสีมา

         การกีฬาแห่งประเทศไทย ภาค 3 มีความซาบซึ้งในความกรุณา และขอประกาศคุณูปการของผู้มีส่วนร่วม ริเริ่ม สร้างสรรค์ และสนับสนุนให้เกิดสนามกีฬาเฉลิมกระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ซึ่งประกอบด้วย

  1. พลเอกชาติชาย ชุณหวัน          อดีตนายกรัฐมนตรี
  2. พลเอกเทียนชัย สิริสัมพันธ์      อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้ผลักดันโครงการ
  3. นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ          อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้ผลักดันงบประมาณก่อสร้าง
  4. นายโยธิน เมธชนันท์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ผู้ประสานงานการจัดหาพื้นที่ก่อสร้าง
  5. นายสมชาย ประเสริฐศิริพันธ์ อดีตผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย
  6. นายพีระ ฟองดาวิรัตน์          ผู้อำนวยการการกีฬาแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตำแหน่งในขณะนั้น)
  7. กรมป่าไม้
  8. กรมธนารักษ์
  9. กรมชลประทาน
  10. เทศบาลนครราชสีมา และบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง

 

ขอให้คุณูปการของทุกท่านได้ป็นพลังดันให้เกิดความเจริญ และการพัฒนาทั้งด้านกีฬา สังคม และเศรษฐกิจ แก่จังหวัดนครราชสีมา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศไทยยิ่งๆ ขึ้นไปเทอญ